National Health Security Office (NHSO) District 4, Saraburi
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว 
  • แสดงผลสีแบบปกติ 
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง 
  • larger 
  • default 
  • smaller 
  • เปลี่ยนการแสดงผล

    เปลี่ยนภาษา

ประวัติความเป็นมา


 

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. 2558

 

ก้าวต่อไป ร่วมส่งเสริมและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพกับภาคีเครือข่าย

- การคุ้มครองสิทธิการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยภาคประชาชน ลดความเหลื่มล้ำ สร้างมาตรฐานเดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

พ.ศ. 2557

 

- มีแนวทางการสนับสนุนงบสร้างเริมสุขภาพและป้องกันโรค กำหนดให้ภาคประชาชนเสนอขอรับงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ

- มีศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จำนวน 147 แห่งทั่วประเทศ

- มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ ตามมาตรา 50(5) เป็น 81 แห่ง ใน 57 จังหวัด

- เกิดการรวมกลุ่มของเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรัง 17 เครือข่าย

พ.ศ. 2556

 

มีวิทยากรแกนนำ ภาคประชาชนในระดับประเทศ ภาค เขต และจังหวัด

พ.ศ. 2555

 

- เริ่มก้าวแรกของการมีระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว "นโยบายฉุกเฉิน 3 กองทุน"

- กลับมา "ร่วมจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท" แต่ยกเว้นการร่วมจ่ายในกลุ่มบุคคล 21 กลุ่ม

- เกิดกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และรณรงค์ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในระบบหลักประกันสุขภาพ

พ.ศ. 2553

 

ใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทอง

พ.ศ. 2552

 

- เกิดหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่น ที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5)

- มีเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางานร่วมกับหน่วยบริการภายใต้ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด

พ.ศ. 2551

 

- ผลักดันการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยโรคไต

- เพิ่มสิทธิประโยชน์บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ให้ได้รับสารทดแทนยาเสพติด (เมทาโดน - MMT )

พ.ศ. 2550

 

- ยกระดับ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็น 1 ในองค์ประกอบ อปสข.

- ผลักดันให้เกิดระบบการสนับสนุนให้หน่วยบริการอื่น ช่วยจัดบริการ ผ่าตัดต้อกระจก

พ.ศ. 2549

 

- ประกาศยกเลิกการจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท

พ.ศ. 2548

 

- ตั้งศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 29 แห่งแรก ใน 12 จังหวัด

- ผลักดันสิทธิประโยชน์การเพิ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี

- เปลี่ยนบทบาทจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นผู้ร่วมให้บริการให้คำปรึกษา

- ปรับเปลี่ยนการจ่ายเงิน ให้มีงบประมาณ บริการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

- ผลักดันให้เกิดกองทุนสุขภาพ ระดับท้องถิ่น ตามมาตรา 47

พ.ศ. 2547

 

- สร้างและพัฒนาวิทยากร แกนนำหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน

- เกิดระบบเยียวยาด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

พ.ศ. 2546

 

- ก่อตั้ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

- เครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กร

- สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน

- ร่วมเวทีรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

พ.ศ. 2545

 

เกิด พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่คนไทยทุกคนมีสิทธิหลักประกันสุขถาพ

พ.ศ. 2543

 

เริ่มรณรงค์ให้รัฐจัดระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลและภาพประชาชนร่วมร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สปสช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ซึ่งมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และด้วยการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สปสช. จึงได้รับรางวัล ทุนหมุนเวียนดีเด่น จากกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551

นอกจากนี้ สปสช. ได้พัฒนาโครงสร้างการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต จำนวน แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดด้วยความสัมพันธ์แบบ partnershipในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด ทั้งนี้เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงด้วยความมั่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข

 

พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะกระทำได้ และมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดระบบการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตให้มีการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน โดยมีองค์กรกำกับดูแลซึ่งจะดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อจัดการให้มีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทั้งประเทศ และให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานด้วยกันทุกคน นอกจากนี้เนื่องจากในปัจจุบันระบบการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลได้มีอยู่หลายระบบ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินซ้ำซ้อนกัน จึงสมควรนำระบบการช่วยเหลือดังกล่าวมาจัดการรวมกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในภาพรวมในด้านสาธารณสุขมิให้เกิดการซ้ำซ้อนดังกล่าว และจัดระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้